ไม่ง่ายแต่ก็ทำได้! นักวิทย์ปลูก “สมองจิ๋ว” ในแล็บ

ภาพตัดขวางของอวัยวะคล้ายสมองของมนุษย์ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว

ที่ทีมนักวิจัยในออสเตรียสร้างขึ้นจากเซลล์ผิวหนัง (Madeline A. Lancaster/IMBA)

       “สมองของมนุษย์” ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนมากที่สุดอย่างหนึ่งในจักรวาล และนั่นก็เป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษา ค้นคว้า และพิสูจน์ความจริงต่างๆเกี่ยวกับสมองของคนเรา รวมไปถึงการหาสาเหตุของความผิดปรกติในสมองและวิธีการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท

ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านโมเลกุล (Molecular Biotechnology) สภาวิทยาศาสตร์แห่งออสเตรีย (Austrian Academy of Sciences) ประสบความสำเร็จในการสร้างอวัยวะที่มีความซับซ้อนมากที่สุดอย่าง “สมองของมนุษย์” ในห้องปฏิบัติการ และผลงานที่น่าทึ่งนี้ยังได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อเร็วๆนี้

บีบีซีนิวส์ให้ข้อมูลว่าทีมวิจัยได้นำเอาเซลล์ผิวหนังของมนุษย์มาผ่านกระบวนการทำให้กลายเป็นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน หรือ สเต็มเซลล์ตัวอ่อน (embryonic stem cells) แล้วจึงนำเซลล์ต้นกำเนิดนี้ไปเพาะเลี้ยงต่อในสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาของสมองโดยมีการให้ออกซิเจนร่วมด้วย และให้เซลล์ต้นกำเนิดเหล่านั้นให้เจริญบนโครงร่าง 3 มิติขนาดเล็กที่ทำจากเจล Read the rest of this entry

ทีมไทยได้ “อิกโนเบล”จากผลงานต่ออวัยวะเพศชาย

ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันอีกต่อไปเมื่อทีมไทยคว้ารางวัล “อิกโนเบล” สาขาสาธารณสุข ประจำปี 2013 จากผลงานต่ออวัยวะเพศชาย ด้านงานวิจัย “ด้วงกุดจี่” เคลื่อนที่ตามการหมุนของทางช้างเผือกก็คว้ารางวัลในสาขาชีววิทยาและดาราศาสตร์
ผลการประกาศรางวัลอิกโนเบล (Ig Nobel Prizes) ประจำปี 2013 ที่จัดขึ้นโดยนิตยสารรายปี “งานวิจัยที่ไม่น่าเป็นไปได้” (Annals of Improbable Research) เมื่อคืนวันพฤหัสบดี วันที่ 12 ก.ย.2013 ตามเวลาท้องถิ่น ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) สหรัฐฯ ปรากฏว่ามีรายชื่อคณะจากประเทศไทยได้รับรางวัลในสาขาสาธารณสุข จากผลงานการต่ออวัยวะเพศชาย

คณะกรรมการได้มอบรางวัลจากรายงานทางด้านเทคนิคการแพทย์เกี่ยวกับการศัลยกรรมชั้นผิวหนังของอวัยวะเพศชายในประเทศไทย ซึ่งทีมแพทย์ที่ได้รับรางวัลรับรองว่าเทคนิคดังกล่าวให้ผลดี ยกเว้นกรณีที่อวัยวะเพศชายถูกเป็ดกินไปบางส่วน Read the rest of this entry

ก้านไม้ตรวจ “มะเร็งตับอ่อน” ผลงานเด็กวัย 15 คว้ารางวัลใหญ่ Intel ISEF

แจ็ค แอนดรากา นักเรียนวัย 15 ปีของสหรัฐฯ ดีใจสุดขีดเมื่อได้ยินประกาศรับรางวัล (SSP)

       อินเทล –นักเรียนสหรัฐฯ วัย 15 ปี ทำก้านไม้ตรวจหา “มะเร็งตับอ่อน” ระยะเริ่มต้น แม่นยำ 90% ให้รายละเอียดมากกว่าเซนเซอร์ปัจจุบัน 100 เท่า และถูกกว่า 28 เท่า คว้ารางวัลใหญ่การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก Intel ISEF 
แจ็ค แอนดรากา (Jack Andraka) นักเรียนวัย 15 ปี จากเมืองคราวส์วีล มลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐฯ คว้างรางวัลกอร์ดอน อี มัวร์ (Gordon E. Moore Award) รางวัลสูงสุดของเวทีประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของอินเทล หรือ อินเทลไอเซฟ (Intel ISEF) ที่จัดขึ้นเมื่อ พ.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษาประมาณ 2.4 ล้านบาท

ผลงานของเขาคือการศึกษาวิธีการใหม่ในการตรวจค่ามะเร็งตับอ่อน โดยอาศัยพื้นฐานจากกระดาษทดสอบโรคเบาหวาน แจ็ค ได้สร้างเซนเซอร์ที่เป็นก้านไม้ธรรมดา แต่สามารถตรวจเลือดและปัสสาวะ แล้วแปรผลว่า เป็นมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้นหรือไม่ โดยมีความถูกต้องสูงถึง 90% และเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ในปัจจุบันวิธีของเขาทำงานได้ผลเร็วกว่า 28% มีราคาถูกกว่า 28% แต่ตรวจละเอียดได้มากกว่า 100 เท่า  Read the rest of this entry

โครงการ Thai Tap Junior Water Prize ประกาศผล 23 ทีมสุดท้าย ประจำปี 2556

“โครงการยุวชนไทยร่วมใจรักษ์น้ำ” หรือ “Thai Tap Junior Water Prize” ประจำปี 2556
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก โดยมีโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทั้งหมด 19 โรงเรียน 23 ผลงาน ดังนี้……..
1. โรงเรียนกระแชงวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผลงาน เครื่องบำบัดน้ำสีย้อมโดยกระบวนการโฟโต้คะตะลิสต์ร่วมกับการดูดซับ

2. โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผลงานพัฒนาระบบจัดการน้ำทิ้งในโรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์

3. โรงเรียนขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผลงาน เครื่องบำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชน

4. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จังหวัดตรัง
ชื่อผลงาน วัสดุดูดซับน้ำมันในแหล่งน้ำจากธรรมชาติ

5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผลงาน การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำทิ้งจากการผลิตแผ่นยางดิบโดยกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน

6. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผลงาน 1. อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียจากการผลิตขนมจีนในครัวเรือน
ชื่อผลงาน 2. อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียจากการย้อมผ้าในวิสาหกิจชุมชนโดยใช้เปลือกหอยเชอรรี่ร่วมกับเถ้าแกลบดำ Read the rest of this entry

ใช้ “น้ำมะพร้าวหมัก” ช่วยน้ำยางพาราจับตัวดีกว่า “กรด” 8 เท่า

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. – นักเรียนโครงการเจเอสทีพีพบ “น้ำมะพร้าวหมัก” มีประสิทธิภาพช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็วกว่าการใช้กรดน้ำส้มถึง 8 เท่า ได้แผ่นยางพาราดิบที่มีคุณภาพดี เหมาะแก่อุตสาหกรรมยางพาราในครัวเรือน เสนอเป็นทางเลือกใหม่ใช้สารจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

น.ส.ศรีสุดา โรจน์เสถียร นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี และเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและ เยาวชน ( Junior Science Talent Project) หรือ เจเอทีพี (JSTP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เผยว่าในขั้นตอนผลิตยางแผ่นดิบจะต้องใช้น้ำยางพารามาผสมกับสารละลายกรด เช่น กรดฟอร์มิก หรือ กรดแอซิติก (กรดน้ำส้ม) เพื่อให้เนื้อยางจับตัวกันเป็นก้อนก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นยางแผ่น แต่นอกจากเป็นสารเคมีราคาแพงแล้วอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเกษตรกรในอนาคต จึงสนใจหาสารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นกรดมาช่วยในการจับตัวของน้ำ ยางพาราแทนสารเคมี

Read the rest of this entry

จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย คว้ารางวัลชนะเลิศโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ญี่ปุ่น

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ได้รับการคัดเลือกจาก วิทยาลัย Tomakomai ประเทศญี่ปุ่น ให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม สาขาพลังงานทดแทน ในงาน Shizuoka Kita Youth Science Engineering Forum 2013 ณ เมืองชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผลจากการที่โรงเรียนได้รับรางวัลจากโครงการ Thailand Go Green ปี 2555 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 1. รางวัลชนะเลิศ เพลงเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ ระดับประเทศ ได้รับโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 2. รางวัลดีเยี่ยม การสืบค้นภาพจากสื่อออนไลน์ การเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ ได้รับโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร พร้อมชุดโซลาร์เซลล์ขนาด 1.5 kW 3.รางวัลขวัญใจสื่อมวลชนกิจกรรมเรียนรู้สู้ภัยพิบัติด้วยนวัตกรรมพลังงานทดแทนได้รับโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร ผลงานการจัดทำนวัตกรรมพลังงานทด แทนเพื่อการเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ และต้องเข้าร่วมแข่งขันกับโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกอีก 40 ประเทศทั่วโลก Read the rest of this entry

สกัดสารจากข้าวโพด อ้อย มันฯ ทำพลาสติกชีวภาพ ย่อยสลายได้เร็ว

การสกัดสารจากพืชนำมาทำเป็นพลาสติกชีวภาพ ซึ่งย่อยสลายได้เร็ว และกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

Pic_188773

“ของเหลือในอุตสาหกรรมที่มาจากภาคเกษตรใน อดีตนั้นส่วนใหญ่มักถูกปล่อยทิ้ง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อาศัยอยู่รอบข้าง กลายเป็นขยะสร้างมลภาวะต่อโลกและ…เพื่อตอบรับกระแสรักษ์โลกอีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ผศ.ดร.วินิตา บุณโยดม นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ร่วมกับ  สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกันวิจัยพัฒนา “พลาสติกชีวภาพ” ขึ้นโดย สนง.คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนทุนวิจัย Read the rest of this entry

นักวิจัยกิมจิพบวิธีกำจัดสารพิษในเลือดจำพวกโลหะหนัก ผลวิจัยสามารถกำจัดสารตะกั่วได้ถึง 96%

นักวิจัยกิมจิพบวิธีกำจัดสารพิษในเลือดจำพวกโลหะหนัก ได้เกือบหมด ด้วยหลักการเดียวกับฟอกเลือด แต่ใช้อนุภาคแม่เหล็กดักจับโลหะหนักไว้ แล้วปล่อยเลือดดีเข้าสู่ร่างกายตามเดิม ผลวิจัยสามารถกำจัดสารตะกั่วได้ถึง 96%

จอง ฮวา จุง (Jong Hwa Jung) นักเคมี มหาวิทยาลัยแห่งชาติกียอองซัง (Gyeongsang National University) ของเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จในการใช้แม่เหล็กจัดการกำจัดสารตะกั่วออกจากเลือดได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า นักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติด้านเคมีของเยอรมนี (Angewandte Chemie International Edition) Read the rest of this entry

วิจัย..พลาสติกชีวภาพ แปรรูปมันสำปะหลังเพื่อสิ่งแวดล้อม

พลาสติก…เป็นสารประกอบ อินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นจาก ปิโตรเคมี บางชนิด เมื่อ อากาศเย็นก็เกิดอาการแข็งตัว หากถูกความร้อนจะอ่อนตัวลง แต่บางชนิด กลับแข็งตัวอย่างถาวรและ ไม่สามารถย่อยสลายได้

แม้ว่า…พลาสติก จะมีประโยชน์หลายด้าน  ปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่ามีผลต่อสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก เนื่องจากกระบวนการผลิตพลาสติกเกิด เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล กลายเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีเทน ซึ่งก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติ ดูดซับคลื่นรังสีความร้อน กักเก็บบางส่วนไว้ในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่ชั้นบรรยากาศ เรียกสภาวะนี้ว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้ วาฬบรูด้า เกยตื้นตายริมหาดในอ่าวไทย เมื่อผ่าท้องออกมาก็พบ ถุงพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายอัดแน่นอยู่เต็มท้อง นั่นแหละคือ…สาเหตุของการเสียชีวิต… Read the rest of this entry

แนะนำตัวตรงนี้ครับ

ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้ามาแนะนำตัว ตรงนี้นะครับ อาจารย์จะได้จำได้ มีอะไรที่อยากบอกบ้าง จัดมาเต็มๆได้เลยครับ